รายการสัมมนาและจัดอบรมเรื่อง Universal Acceptance
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ระบบชื่อโดเมนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตอย่างมาก เราสามารถตั้งชื่อโดเมนด้วยภาษาท้องถิ่นที่ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษ (Latin Script) รวมถึงโดเมนนามสกุลใหม่ ๆ ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมา ตัวอย่างเช่น .online, .tech, .london .ไทย, .ລາວ, .中国 เป็นต้น และเมื่อชื่อโดเมนเปลี่ยนไป ชื่อเว็บไซต์ และชื่ออีเมลก็เช่นเดียวกัน
Universal Acceptance (UA) คือการที่แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ยอมให้เราใส่ชื่อเว็บไซต์และชื่ออีเมลที่ถูกต้องตามกฎการตั้งชื่อเป็นภาษาใดก็ได้ และยังรวมไปถึงการตรวจสอบ, การประมวลผล, การจัดเก็บ และการแสดงชื่อ อย่างถูกต้องด้วย
การกำเนิดของชื่อโดเมนใหม่ ๆ ทั้งชื่อภาษาอังกฤษและชื่อภาษาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ภาษาไทย ภาษารัสเซีย ภาษาจีน ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่จะสนับสนุนให้อินเทอร์เน็ตสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และไม่เกิดช่องว่างทางภาษาสำหรับผู้ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้รัฐบาลและกลุ่มสังคมชุมชนต่าง ๆ สามารถให้บริการแก่ชุมชนของตนได้ดีขึ้น เพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้แก่คนท้องถิ่นที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น
ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC Academy) จัดทำโครงการสร้างความพร้อมด้าน Universal Acceptance (UA) และ Email Address Internationalization (EAI) ในประเทศไทย เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของ UA ให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน หน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักพัฒนาเว็บไซต์ และผู้ดูแลระบบ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปรับปรุงระบบเพื่อให้ชื่ออีเมลภาษาไทยจะถูกรับและใช้งานได้อย่างถูกต้อง
รายการสัมมนา
รูปแบบออนไลน์เปิดให้เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น
วันที่ | หัวข้อ | ผู้ฟัง | รายละเอียด | ลงทะเบียน |
---|---|---|---|---|
17 มิถุนายน 2564 | ยูเอ: ผลกระทบและโอกาสสำหรับการบริการภาครัฐสำหรับคนไทย | Government, และผู้สนใจ | สัมมนาเกี่ยวกับประเด็นของ UA ที่จะมีผลกระทบต่อไทย โอกาสสำหรับภาครัฐบาลในการให้บริการประชาชน | คลิก |
30 ตุลาคม 2564 | ยูเอ:จิบกาแฟคนทำเว็บ สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ : ปลดพันธนาการจากออนไลน์แพลตฟอร์ม | ผู้ประกอบการออนไลน์ และผู้สนใจ | สัมมนาเกี่ยวกับประเด็นของ UA ที่จะมีผลกระทบต่อไทย และเราจะรับมือกับประเด็นเหล่านี้อย่างไร เน้นเรื่องโอกาสทางธุรกิจจากการที่เราปรับตัวเป็น UA-Ready |
คลิก |
รายการอบรม
รูปแบบออนไลน์เปิดให้เข้าร่วมรับฟังบรรยาย พร้อมชมการสาธิต และร่วมตอบคำถามเพื่อทบทวนความเข้าใจ
วันที่ | หัวข้อ | ผู้ฟัง | รายละเอียด | ลงทะเบียน |
---|---|---|---|---|
17 มีนาคม 2564 | การปรับระบบอีเมลให้รองรับการรับส่งชื่ออีเมลภาษาไทย | Technical (systems) | การอบรมรายละเอียดการปรับระบบอีเมลส่วนต่างๆให้รองรับการรับส่งชื่ออีเมลภาษาไทย | คลิก |
12 มิถุนายน 2564 | การพัฒนาเว็บให้รองรับ UA | Technical (web developers) | การอบรมรายละเอียดการพัฒนาเว็บให้รองรับ UA | คลิก |
21 สิงหาคม 2564 | การพัฒนาโปรแกรมให้รองรับ UA ด้วย Java | Technical (DevOps) | การอบรมรายละเอียดการเขียนโปรแกรมให้รองรับรองรับ UA ด้วย Java | คลิก |
Hackathon
วันที่ | หัวข้อ | ผู้ฟัง | รายละเอียด | ลงทะเบียน |
---|---|---|---|---|
9 กันยายน 2564 | GitHub Pull Request Hackathon.ไทย Universal Acceptance | Technical (DevOps) | จัดในรูปแบบ Virtual Hackathon มีระยะเวลาการแข่งขัน 7 วัน เพื่อแก้ไขโปรเจคที่อยู่ใน GitHub ให้เป็น UA-Ready และเปิด Pull Request เพื่อแจ้งเจ้าของโปรเจค github | คลิก |
อ้างอิง
https://www.icann.org/resources/pages/regional-universal-acceptance-training-2021-01-06-en