หลักสูตร Problem-oriented Programming

หลักสูตร Problem-oriented Programming
ณ ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC ACADEMY) อ.เมือง จ.ตาก

การอบรมหลักสูตร “Problem-oriented Programming” มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทักษะที่สําคัญและจําเป็นสําหรับศตวรรษที่ 21 โดยเป้าหมายที่สําคัญคือการเตรียมความพร้อมแก่เยาวชนให้มี ความรู้ความเข้าใจและเพิ่มพูนทักษะการเขียนโปรแกรม เพื่อให้สามารถต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและสามารถนําการเขียน โปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันได้ ตลอดจนสามารถพัฒนาตัวเองให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต

ขอเชิญน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย และนักศึกษาระดับชั้น ปวช. สมัครเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 และ 23 – 24 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ของทุกวัน ณ ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC ACADEMY) อําเภอเมือง จังหวัดตาก โดยช่วงท้ายของหลักสูตรจะมีการแข่งขันเขียนโปรแกรมชิงทุนการศึกษาอีกด้วย

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • นักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย และนักศึกษาระดับ ปวช. ในพื้นที่ จ.ตาก 
    หรือพื้นที่ใกล้เคียงที่มีทักษะการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน

  • มีความสนใจในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะการเขียนโปรแกรมในระดับที่สูงขึ้น

  • ต้องพร้อมที่จะสละเวลาเข้าร่วมการอบรมและกิจกรรมตลอดหลักสูตรอย่างเต็มที่ตามวันและเวลาที่กําหนด

กําหนดการ
วันนี้ - 5 ตุลาคม 2565
เปิดรับสมัคร
6 ตุลาคม 2565
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัคร
7 ตุลาคม 2565
ประกาศผลการคัดเลือก จํานวน 24 คน และยืนยันเข้าร่วมกิจกรรม
14, 15, 16, 23 ตุลาคม 2565
กิจกรรมอบรม
24 ตุลาคม 2565
การแข่งขันขันเขียนโปรแกรม พิธีปิดกิจกรรม มอบรางวัลและเกียรติบัตร

เงินรางวัลการแข่งขันเขียนโปรแกรม

สถานที่อบรม: 

ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC ACADEMY)

แผนที่ https://academy.thnic.or.th/map

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

คุณธรากร จันลาภา โทร. 08 4156 2991, อีเมล tharakorn@thnic.or.th

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 14-16 ตุลาคม 2565 

      ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC Academy) จัดอบรมหลักสูตร Problem-Oriented Programming สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายหรือเทียบเท่าในพื้นที่จังหวัดตาก การอบรมครั้งนี้เป็นหลักสูตรระดับที่ 2 ต่อจากการอบรมหลักสูตรเบื้องต้น หรือ Computational Thinking ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยหลักสูตร Problem-Oriented Programming นี้มีระยะเวลา 5 วันแบ่งออกเป็น 2 สัปดาห์ 

     สำหรับสัปดาห์แรกอบรมระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม 2565 คุณภาคภูมิ ไตรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ THNIC Academy กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม และบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการอบรมหลักสูตร Problem-oriented Programming ในครั้งนี้

     จากนั้น ผศ.ดร.อัครา ประโยชน์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และทีมงานได้นำเข้าสู่การอบรมโดยให้ผู้เข้าอบรมทำโจทย์ทดสอบพื้นฐาน Programming
เพื่อประเมินก่อนการอบรม 

     หลักสูตร Problem-Oriented Programming นี้เน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกการเขียนโปรแกรมให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์เพื่อแก้โจทย์ต่าง ๆ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือทุ่นแรงในชีวิตประจำวันได้ หลักสูตรนี้มีผู้สมัครจำนวน 30 คน และผ่านการคัดเลือกให้เข้าอบรมจำนวน 17 คน

สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 23-24 ตุลาคม 2565 

THNIC Academy จัดอบรมคอร์ส Problem-oriented Programming สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลายและปวช. ในพื้นที่จังหวัดตาก เป็นสัปดาห์ที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-24 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยทั้งคอร์สจัดให้มีการอบรมทั้งหมด 5 วัน เพื่อปรับพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม ให้ผู้เรียนสามารถนำการเขียนโปรแกรมไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ หรือนำไปใช้เป็นเครื่องมือทุ่นแรงได้ เช่น แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ หรือการทำเครื่องคิดเลขให้มีฟังก์ชั่นหลากหลาย เป็นต้น โดยมี ผศ.ดร.อัครา ประโยชน์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้นำทีมสอน

โดยคอร์สนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 30 คน และผ่านการอบรม 13 คน แบ่งเป็น โรงเรียนตากพิทยาคม 5 คน โรงเรียนเทศบาล 1 กิติขจร 5 คน วิทยาลัยเทคนิคตาก 2 คน และโรงเรียนผดุงปัญญา 1 คน และในวันสุดท้ายมีการสอบแข่งขันเพื่อชิงทุนการศึกษาโดยผู้ได้รับ

รางวัลอันดับ 1 ได้แก่ นายวสุ อินทะโย

รางวัลอันดับ 2 ได้แก่ นายจิโรจน์ ชำกระแสร์

และรางวัลอันดับ 3 ได้แก่ นายฐปนวัฒน์ สุนันต๊ะ

ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนตากพิทยาคม

ทั้งนี้ THNIC Academy เป็นศูนย์การเรียนรู้ภายใต้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNICF)